วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

SWOT กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งส่งออก

Strength
v ไทยมีความชำนาญ(ในระดับหนึ่ง)ในการเพาะเลียงกุ้ง
v ภูมิอากาศเหมาะสม สามารถเพาะเลียงกุ้งได้เกือบตลอดปี
v โรงงานแปรรูปกุ้งของไทยได้มาตรฐานสากล และ ส่วนใหญ่ได้รับรอง ISO
v แรงงานไทยมีความชำนาญสูง
v ได้ตรงกับความต้องการของตลาด
v ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ไม่พบปัญหาสารตกค้าง เช่น คลอแรมฟินิคอล และ เมลามีนไทยมีธุรกิจต่อเนื่องที่ใช้ประโยชน์จากกุ้งได้ครบทุกส่วน
Weakness
v มีการพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ เช่น พ่อ และ แม่พันธุ์กุ้ง วัตถุดิบอาหารกุ้ง
v ต้นทุนค่าแรงผู้เพาะเลียงกุ้งอยู่ในระดับสูง เมื่อเทียบกับจีน และเวียดนาม
v ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรม
v ไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐเท่าที่ควร
Opportunity
v ตลาดโลก และ ประเทศญี่ปุ่นมีความต้องการบริโภคอาหารทะเล รวมถึงกุ้ง เพิ่มขึ้น
v ผลผลิตกุ้งของคู่แข่งลดลงมาก เนื่องจากได้รับความเสียหายจากโรคระบาด และ เกิดภัยธรรมชาติ
v EU ให้สิทธิ GSP แก่ไทยตั้ง แต่วันที่ 1 มกราคม 2549 ส่งผลให้อัตราภาษีนำเข้ากุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งและ กุ้งแปรรูปที่ EU เรียกเก็บจากไทยลดลงเท่ากับคู่แข่ง
v การส่งออกกุ้งของประเทศไทยอยู่ในข้อตกลงของ FTA ในการลดภาษีส่งออก
Threat
v คู่แข่งขันทางการค้ามีแนวโน้มนำกฎระเบียบ และ มาตรการทางการค้ามาใช้เพิ่มขึ้นผลผลิตโดยเฉพาะมาตรการด้านสุขอนามัย
v สังคม และสิ่งแวดล้อม ดังกรณีที่สหรัฐฯ กล่าวหาว่ากุ้งของไทยเป็นสินค้าที่ผลิตจากแรงงานเด็กและแรงงานบังคับ และห้ามมิให้การจัดซื้อ จัดจ้างของรัฐบาลใช้สินค้าที่เข้าข่ายดังกล่าว
v ระบบเศรษฐกิจของโลก มีแนวโน้มไม่ที่ไม่ดีเท่าที่ควร
v ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีการอ่อนค่าลง ทำให้กำลังซื้อ ของผู้บริโภคลดลง
v ค่าเงินบาทไทยสูงกว่าที่เคยเป็นมา

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ญี่ปุ่นยกเลิกตรวจสารตกค้างกุ้งแช่แข็ง "ประมง" เจรจาสร้างความเชื่อมั่นสินค้าไทย



    ดร.จิราวรรณ แย้มประยูร รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า ขณะนี้ประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศยกเลิกการควบคุมยาปฏิชีวนะ Oxytetracyaline (ออกซิเตตตระไซคลิน)และ Oxolinic acid (ออกโซลินิค แอซิค) ตามระบบ Positive List หรือ การกักกันสินค้าเพื่อสุ่มตรวจสินค้ากุ้งแช่แข็งนำเข้าจากทุกประเทศแล้ว หลังจากที่ได้ประกาศใช้มานานตั้งแต่ปี 2537 จึงน่าจะเป็นโอกาสอันดีของผู้ส่งออกไทยในการขยายตลาดส่งออกกุ้งไปยังประเทศ ญี่ปุ่นมากขึ้น ในเบื้องต้นกรมฯได้เตรียมจัดคณะทำงานเดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่นเพื่อเจรจา กับกระทรวงสาธารณสุขของญี่ปุ่น ขอยกเลิกการสั่งกักกันกุ้งแช่แข็งไทย ในระหว่างวันที่ 18 - 20 ก.ค. นี้ และเข้าร่วมงานงาน The 9th Japan International Seafood & Technology Expo เพื่อประชาสัมพันธ์คุณภาพสินค้าสัตว์น้ำของไทยให้ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นได้ เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นด้วย


    อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าการเจรจาในครั้งนี้ น่าจะประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี เพราะหลังจากกรมฯได้จัดระบบการตรวจสอบคุณภาพสินค้ากุ้ง รวมถึงการควบคุมสารปฏิชีวนะตกค้างตามแผนการควบคุมสารเคมี และ ยาปฏิชีวนะใน สัตว์น้ำจากการเพาะเลี้ยงของไทย ทำให้ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา กุ้งแช่แข็งของไทยที่ส่งออกไปยังญี่ปุ่นตรวจไม่สารตกค้างใดๆ


    รองอธิบดีกรมประมง กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า กรมฯจำเป็นต้องเร่งดำเนินการเจรจาดังกล่าวให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อประโยชน์ทางการค้าแก่ผู้ส่งออกไทย ให้สามารถดำเนินการส่งออกกุ้งไปยังประเทศญี่ปุ่นได้สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น รองรับการขยายตลาดส่งออกกุ้งของไทยไปญี่ปุ่น หลังจากที่ได้มีการลงนามข้อตกลง JTEPA แล้ว โดยเชื่อว่า จุดเด่นของสินค้ากุ้งไทย ทั้งในด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และมาตรการตรวจสอบและควบคุมอย่างเข้มข้นในทุกขั้นตอนของกรมประมง จะสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคในประเทศญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี

แหล่งที่มา http://www.nicaonline.com/webboard/index.php?topic=7037.0

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประชากร และ เชื้อชาติ ของชาวญี่ปุ่น


          ด้านประชากรของประเทศญี่ปุ่น มีอยู่ประมาณ 127,491,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประชากรผู้สูงอายุ คือ 65 ปี ขึ้นไป มีอยู่จำนวน 28.95 ล้านคน ปัจจุบัน ประชากรญี่ปุ่นมีจำนวนเท่ากับร้อยละ 1.89 ของประชากรโลก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 10 ของโลก

          เชื่อชาติชาวญี่ปุ่น ในทางประวัติศาสตร์เชื่อกันว่าบรรพบุรุษของชาวญี่ปุ่น ได้แก่กลุ่ม เผ่าพันธ์ุหนึ่งที่เรียกในปัจจุบันว่า เผ่าพันธุ์ยามาโตะ ผสมกับคนที่อพยพมาจากแผ่นดินใหญ่ ได้แก่ จีน และ เกาหลี ปัจจุบันคนต่างชาติกลุ่มใหญ่ที่อยู่ในญี่ปุ่น ได้แก่ ชาวเกาหลี และ ชาวจีน รวมทั้งเผ่าไอนุซึ่งอาศัยอยู่ที่เกาะฮอกไกโด

แหล่งที่มา http://www.mfa.go.th/web/479.php?id=133

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความแตกต่างระหว่าง การตลาดระหว่างประเทศ กับ การค้าระหว่างประเทศ

               การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศต่างๆ ประเทศที่ทำการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน เรียกว่า "ประเทศคู่ค้า" สินค้าที่แต่ละประเทศซื้อเรียกว่า "สินค้าเข้า" (imports) และสินค้าที่แต่ละประเทศขายไปเรียกว่า "สินค้าออก" (exports) ประเทศที่ซื้อสินค้าจากต่างประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้นำเข้า" ส่วนประเทศที่ขายสินค้าให้ต่าง ประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้ส่งสินค้าออก" โดยทั่วไปแล้ว แต่ละประเทศจะมีฐานะเป็นทั้งประเทศ ผู้นำสินค้าเข้า และ ประเทศผู้สินค้าออกในเวลาเดียวกัน เพราะประเทศต่างๆ มีการผลิตสินค้า แตกต่างกัน




                การตลาดระหว่างประเทศ คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ
ที่มา  www1.webng.com/logisticseminar

             ความแตกต่างระหว่าง การตลาดระหว่างประเทศ กับ การค้าระหว่างประเทศ คือทั้งสองมีความแตกต่างกัน และ มีความคล้าย คือ การตลาดระหว่างประเทศเป็นการทำข้อมูล การสำรวจวิเคราะห์ลูกค้า การกำหนดทิศทาง และ ระยะเวลาในการซื้อสินค้าของลูกค้าได้(มี อำนาจต่อความรู้สึกลูกค้า) วางแผน เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และจะต้องบรลุเป้าหมายของธุรกิจ หรือ พันธกิจ ส่วนการค้าระหว่างประเทศเปนการติดต่อซึ้อขาย และทำการแลกเปลี่ยนสินค้าตามข้อตกลง หรือ ผลประโยชน์ที่ต่างฝ่ายต่างพึงพอใจ