วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความแตกต่างระหว่าง การตลาดระหว่างประเทศ กับ การค้าระหว่างประเทศ

               การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศต่างๆ ประเทศที่ทำการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน เรียกว่า "ประเทศคู่ค้า" สินค้าที่แต่ละประเทศซื้อเรียกว่า "สินค้าเข้า" (imports) และสินค้าที่แต่ละประเทศขายไปเรียกว่า "สินค้าออก" (exports) ประเทศที่ซื้อสินค้าจากต่างประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้นำเข้า" ส่วนประเทศที่ขายสินค้าให้ต่าง ประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้ส่งสินค้าออก" โดยทั่วไปแล้ว แต่ละประเทศจะมีฐานะเป็นทั้งประเทศ ผู้นำสินค้าเข้า และ ประเทศผู้สินค้าออกในเวลาเดียวกัน เพราะประเทศต่างๆ มีการผลิตสินค้า แตกต่างกัน




                การตลาดระหว่างประเทศ คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ
ที่มา  www1.webng.com/logisticseminar

             ความแตกต่างระหว่าง การตลาดระหว่างประเทศ กับ การค้าระหว่างประเทศ คือทั้งสองมีความแตกต่างกัน และ มีความคล้าย คือ การตลาดระหว่างประเทศเป็นการทำข้อมูล การสำรวจวิเคราะห์ลูกค้า การกำหนดทิศทาง และ ระยะเวลาในการซื้อสินค้าของลูกค้าได้(มี อำนาจต่อความรู้สึกลูกค้า) วางแผน เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และจะต้องบรลุเป้าหมายของธุรกิจ หรือ พันธกิจ ส่วนการค้าระหว่างประเทศเปนการติดต่อซึ้อขาย และทำการแลกเปลี่ยนสินค้าตามข้อตกลง หรือ ผลประโยชน์ที่ต่างฝ่ายต่างพึงพอใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น